จริยธรรมการตีพิมพ์

         วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ดังนั้นจึงกำหนดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด ดังนี้  

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองบทความและพิจารณาคุณภาพของบทความจัดกระบวนการประเมินพิจารณาบทความในรูปแบบ double blind peer review เพื่อนําการตีพิมพ์ลงในวารสาร โดยพิจารณาจากความทันสมัย ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร อีกทั้งต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารใดมาก่อน
2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความด้วยความเป็นกลางโดยปราศจากอคติใด ๆ ของผู้นิพนธ์บทความและผู้ประเมินบทความ พร้อมชี้แจง และให้คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์บทความในทุกประเด็นที่จะพัฒนาผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ให้ได้คุณภาพมาตรฐานของวารสาร
3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ มีหน้าที่ตรวจสอบการคัดลอกหรือความซ้ำซ้อนของบทความ (Plagiarism) กับผู้นิพนธ์บทความท่านอื่น กรณีพบการคัดลอกหรือความซ้ำซ้อนของบทความ กองบรรณาธิการจะมีกระบวนการให้ผู้นิพนธ์บทความได้ชี้แจง เพื่อนำไปสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อรับบทความหรือปฏิเสธบทความ
4.
บรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะไม่นําความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางวิชาการมาตัดสินใจรับหรือปฏิเสธบทความ

5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ไม่ว่ากรณีใด ๆ
6. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความ  ผู้ประเมินบทความ ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง รวมถึงไม่มีส่วนในการตัดสินใจคัดเลือกบทความที่ตนเป็นผู้นิพนธ์หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง

7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลงเนื้อหาในบทความของผู้นิพนธ์บทความและผลประเมินของผู้ประเมินบทความ
8. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีการปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ อย่างรัดกุม รวมถึงมีระบบแก้ไขข้อผิดพลาด กรณีพบข้อผิดพลาดและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
9. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีการประกาศเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และอัตราจัดเก็บที่ชัดเจนสำหรับค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ค่าดำเนินการจัดการต้นฉบับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้นิพนธ์บทความได้รับทราบ
10. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะไม่ร้องขอให้มีการอ้างอิงผลงานใดเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิง (citation) หรือค่า impact factor ของวารสาร หรือเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง
11.
บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีช่องทางการสื่อสารให้ผู้นิพนธ์บทความสามารถชี้แจงได้ กรณีมีความคิดเห็นต่างจากการพิจารณาของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

หน้าที่ของผู้นิพนธ์บทความ
1. บทความที่ผู้นิพนธ์บทความส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน รวมทั้งไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาหรือส่งเพื่อตีพิมพ์ที่อื่นซ้ำในเรื่องเดียวกัน
2. ผู้นิพนธ์บทความต้องทำการอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอ หรืออ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผลงานส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด จากผลงานทางวิชาการของตนเองที่เคยเผยแพร่ไปก่อนหน้าและของบุคคลอื่น
3. หากผลงานทางวิชาการของผู้นิพนธ์บทความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้นิพนธ์ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอม ก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ทดลองประกอบด้วยทุกครั้ง
4. ผู้นิพนธ์บทความต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารวารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ แล้ว
5. ชื่อผู้นิพนธ์บทความที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนั้น ๆ จริง กรณีบทความมีผู้นิพนธ์หลายคน ผู้นิพนธ์ทุกคนจะต้องเห็นชอบกับต้นฉบับบทความและเห็นชอบกับการส่งต้นฉบับ บทความดังกล่าวให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์
6.ผู้นิพนธ์จะต้องปรับรูปแบบของบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดและเนื้อหาของบทความต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
7. ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความ เพื่อให้บทความมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ

8. ข้อความ ในบทความถือเป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์บทความทั้งหมด และเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์และคณะ
9. ผู้นิพนธ์บทความต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของข้อมูลและเนื้อหา รูปภาพ ภายในบทความของตนเอง


หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง พิจารณาบทความด้วยความเต็มใจตามความสามารถทางวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์   การพิจารณาคุณภาพของบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก บนหลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความขัดแย้งส่วนตัว
2. ผู้ประเมินบทความมีเสรีภาพทางวิชาการในการประเมินบนฐานของหลักการทางวิชาการที่ถูกต้อง
3. หากผู้ประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการและ/หรือกองบรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
4. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารกำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่อื่นได้รับรู้

5. ผู้ประเมินบทความรักษาความลับ ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ประเมินบทความต่อผู้อื่นหรือสาธารณชน ในขณะที่กำลังทำการประเมินบทความ
6. ผู้ประเมินบทความไม่เสนอแนะให้ผู้นิพนธ์อ้างอิงผลงานใดด้วยเจตนาเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง

7. ผู้ประเมินบทความจะไม่นําบทความที่พิจารณาหรือนําผลที่พบไปเขียนเป็นบทความเรื่องใหม่ของตนเอง
8. ผู้ประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งจนกว่าบทความได้รับการตีพิมพ์

นโยบายจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
              บทความจากงานวิจัยที่สงเข้ามารับการเผยแพร่ ในวารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ และเกี่ยวข้องกับการทําวิจัยในมนุษยนั้น  ควรได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากสถาบันที่ผ่านการรับรองจากสํานักงานมาตรฐานการวิจัยในมนุษยสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ และเปนไปตามมาตรฐานจริยธรรมและกฎหมายสากล ดังนั้นผู้นิพนธ์บทความอาจต้องแนบเอกสารการขอจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์(ถ้ามี)

วันที่ปรับปรุง : เดือนธันวาคม พ.ศ. 2567  
                   กองบรรณาธิการวารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์